ปริศนาคำทาย

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 5

เนสเซล และคณะ (Nessel and Other. 1989) ได้อ้างถึงผลงานวิจัยเกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษาของเด็กว่าประกอบด้วยขั้นตอนต่อไปนี้ คือ
 

ระบบเสียง (Phonology)
                   เด็กทารกพยายามเรียนรู้ระบบเสียงในภาษาของตนโดยการออกเสียงหลายๆ ลักษณะ และเริ่มนำเสียงมาเชื่อมต่อกันเพื่อให้มีความหมาย
ลักษณะคำพูด (Morphology)
              เด็กเริ่มเรียนรู้ว่า การผสมกันของเสียง ทำให้เกิดความหมาย เด็กเริ่มเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ จน
กระทั่งถึงวัยก่อนประถมศึกษา เด็กจะเริ่มเข้าใจกฎของคำ
การสร้างประโยค (Syntax)
                    เด็กเรียนการสร้างประโยคหรือไวยากรณ์ ในขณะที่เด็กเริ่มนำคำมาสร้างเป็นประโยค เด็กจะเข้าใจโครงสร้างไวยากรณ์ เมื่อเด็กเข้าใจประโยคที่มีคำจำนวนมาก เมื่ออายุสองปีถึงสามปี เด็กจะพูดประโยคความเดียวชนิดต่างๆ ได้ เช่น ประโยคคำสั่ง ประโยคปฏิเสธ ประโยคคำถาม เด็กจะใช้ประโยคที่มีคำเชื่อม หรืออเนกรรถประโยคได้เมื่ออายุ ห้าถึงเจ็ดปี และเด็กจะใช้คำนาม สรรพนาม ได้อย่างถูกต้อง เมื่ออายุประมาณเจ็ดปีจึงจะใช้ประโยคหลายความ หรือสังกรประโยคได้
 ความหมาย (Semantics)
 การใช้ภาษา (Pragmatics)
                   เด็กจะเรียนรู้การใช้ภาษาอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่เด็กอยู่ เด็กที่ย้ายสถานที่ไปอยู่ที่ใหม่ก็จะเรียนรู้ภาษาของสังคมใหม่นั้น
สรุปได้ว่า
                    การเรียนภาษาเป็นกระบวนการต่อเนื่อง เด็กเล็กจะเรียนภาษาพูดและกฎเกณฑ์ต่างๆ ทั้งเสียงคำ ประโยค ความหมาย และการนำไปใช้ในขณะที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ ในสิ่งแวดล้อม เด็กจะเปลี่ยนและปรับปรุงการเรียนภาษาของตนเมื่อเข้าเรียนในโรงเรียน  แต่การเรียนภาษาระดับพื้นฐานนั้นจะถูกสร้างขึ้นก่อนหน้านั้น
บราวน์ และคณะ (Brown and Other. อ้างอิงจาก Lindfors. 1980)
             ขั้นแรก    เป็นขั้นสองคำ (the two-word stage) หรือขั้นโทรเลข เพราะหน่วยคำที่เด็กพูดเป็นคำ ที่มี
ความหมายหนักแน่นคล้ายๆ กับคำที่ใช้ในโทรเลข
        ขั้นที่สอง   เด็กจะใช้หน่วยคำทางหลักภาษา มีคำที่เชื่อมต่อกัน และการขยายคำเพิ่มมากขึ้น
        ขั้นที่สาม   เด็กจะใช้ประโยคบอกเล่า ประโยคปฏิเสธ ประโยคคำถาม และประโยคคำสั่ง ลักษณะ
ของประโยคเหล่านี้จะพัฒนาต่อไปจากขั้นที่สามต่อไปอีกนาน

           ในขณะที่เด็กเรียนเสียงและโครงสร้างของภาษา เด็กจะเรียนรู้ด้วยว่าคำจะมีความหมายขึ้นอยู่กับปริบท (Context) ของการใช้คำนั้นด้วย กระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ความหมาย เป็นกระบวนการที่ซับซ้อน และสัมพันธ์กับขั้นตอนพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์
            กล่าวคือ ในขั้นประสาทสัมผัส เด็กจะใช้คำพูดคำเดียวแทนประโยคทั้งประโยค ความหมายของคำขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของการใช้คำ เช่น เด็กกำลังเดินหาพ่อ และพูดว่า พ่อ มีความหมายว่า พ่ออยู่ไหน เมื่ออายุสองถึงเจ็ดปี หรือขั้นก่อนปฏิบัติการ เด็กจะแยกคำออกจากประโยค พร้อมกับใส่ความหมาย ซึ่งสัมพันธ์กับการกระทำที่เป็นรูปธรรม คำว่า บ้าน อาจหมายถึง สถานที่พ่อแม่ แมว และตัวเองอาศัยอยู่ เด็กจะเริ่มตระหนักถึง  ความไม่ชัดเจน หรือความยืดหยุ่นของภาษา แต่เด็กจะเข้าใจต่อเมื่อเด็กมีประสบการณ์รูปธรรมเท่านั้น เมื่ออายุเจ็ดถึง สิบเอ็ดปี ซึ่งเป็นขั้นปฏิบัติการรูปธรรม เด็กจะเข้าใจความหมายได้ดียิ่งขึ้น แต่ก็ต้องการประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมอยู่ เด็กอาจอธิบายคำว่า บ้าน ว่าหมายถึง สถานที่ สำหรับนอน รับประทานอาหาร และให้เพื่อนมาเยี่ยม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น