ปริศนาคำทาย

วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 10

ความน่ารักของภาษาไทยกับภาษาลาว
 

                สถานที่
ท : ห้องคลอด                                     ล : ห้องประสูติ
ท : นาง ผดุง ครรภ์                              ล : นาง ประสูติ
ท : ห้องไอซียู                                      ล : ห้อง มรสุม
ท : ปั๊มเชล                                         ล : ปั๊มหอย
ท : ไฟ แดง                                        ล : ไฟ อำนาจ

: ไฟเขียว                  ;                      ล : ไฟ อิสระ
ท : ถ่ายเอกสาร / ถ่ายสำเนา                        ล : อัด เอกสาร
ท : ร้านถ่ายรูป                                     ล : ร้านแหกตา (- -'')
ท : ผ้าเย็น                                            ล : ผ้า อนามัย * เหอๆๆ
ท : Johny Walker                                ล : บักจอน ย่าง * เฮ้ย
วันนี้ไปดื่มบัก จอน ย่างกัน เว้ย....


ครั้งที่ 9

     จัดประสบการณ์ด้านการฟังเสียงดังต่อไปนี้
ประเภทของเสียงที่ควรฝึกให้เด็ก ได้แก่
1.  เสียงสูง เสียงต่ำ ครูใช้เสียงดนตรีเทียบให้เห็น
2.  เสียงดัง เสียงเบา ครูอาจให้เด็กลองกระซิบแล้วพูดดังขึ้นตามลำดับ
3.  การแยกเสียงจากเสียงที่รวมกัน เช่น อัดเสียงจากสนามเด็กเล่นแล้วให้เด็กลองมาหัดแยกว่า เสียงไหนเป็นเสียงสุนัข เสียงไหนเป็นเสียงเด็กผู้หญิง เสียงไหนเป็นเสียงของเด็กผู้ชาย
4.  จำนวนพยางค์ของคำ คำบางคำมีมากกว่า 1 พยางค์ เพื่อให้เด็กเข้าใจอาจใช้กิจกรรมให้เด็กตบมือเท่ากับจำนวนพยางค์ของคำ เช่น เมื่อครูชี้ ด.ญ.ติ๋ม ทุกคนตบมือ 1 ที หากชื่อมากกว่า    1 พยางค์ก็ตบเพิ่มขึ้นเท่ากับจำนวนพยางค์
มานี           ตบมือ มา-1 ที      นี-1 ที
ลัดดาวัลย์  ตบมือ ลัด-1 ที     ดา-1 ที         วัลย์-1 ที
สุพัฒนา    ตบมือ สุ-1 ที        พัด-1 ที        ทะ-1 ที         นา-1 ที
5.  เสียงที่เหมือนกัน ครูว่าคำคล้องจองให้เด็กฟังแล้วให้เด็กบอกว่า คำไหนเสียงเหมือนคำไหน เช่น จากบทประพันธ์
ฝนตกพร่ำพร่ำ     แม่ดำกางร่ม
แกเดินก้มก้ม                            อยู่ข้างกำแพง
ประเดี๋ยวแดดออก                   แกบอกพ่อแดง
ฉันไม่มีแรง                              หุบร่มให้ที
                                                                    (ฐะปะนีย์  นาครทรรพ)
ครูให้นักเรียนหาคำที่ออกเสียงเหมือนคำว่า พรำ ร่ม แพง ออกหรือไม่ ซึ่งเด็ก                 ก็จะต้องตอบว่า
                    พรำ        -              ดำ
                    ร่ม           -              ก้ม
                    แพง        -              แดง
                    ออก        -              บอก
                    ไม่           -              ให้
6. คำที่มีเสียงขึ้นต้นเหมือนกัน คำสั่งอาจจะเป็นว่า ก. นี้ชื่อว่า ก.ไก่ นอกจากนี้             อาจเป็นชื่อของอะไรได้อีก เด็กก็อาจเพิ่มเป็น ก.กุ้ง กา.กา ก.กบ ฯลฯ หรือ ป. ชื่อว่า ปลา              นอกจากชื่อ ป. แล้วอาจเป็นชื่ออะไรได้อีก ก็อาจเป็น ป.ปู ป.แป้ง ป.ไป ฯลฯ เป็นต้น
7. คำที่เสียงลงท้ายเหมือนกับคำที่ครูเอ่ยให้ฟัง เช่น ครูว่าให้ฟังเป็นตัวอย่าง นก          ครก ตก
ครูกล่าวคำ บิน เด็กอาจหาคำมาเพิ่ม เช่น กิน ดิน หิน ฯลฯ
ครูกล่าวคำ ตาก เด็กอาจหาคำเพิ่มเป็น จาก หาก หมาก ฯลฯ
เมื่อเด็กปฐมวัยผ่านการฝึกเสียงดังได้กล่าวมาแล้วก็จะช่วยให้เด็กได้ออกเสียงถูกต้องด้วย

การฟังเรื่องราว
การให้เด็กฟังเรื่องต่างๆ ควรจะได้ฝึกด้วย เพราะในการติดต่อกับผู้อื่นนั้นย่อมต้องมีการสนทนาโต้ตอบกัน การจะพูดกันได้เข้าใจผู้ฟังก็ย่อมจะต้องฟังแล้วเกิดความเข้าใจถูกต้องด้วย    การฝึกฟังอาจเป็นโดยวิธีต่อไปนี้
1. การเล่านิทาน เมื่อเล่านิทานให้ฟังแล้วก็ลองให้เด็กเป็นผู้เล่าซ้ำให้ครูฟังบ้าง
2. การทำตามคำสั่ง เมื่อครูออกคำสั่งให้ทำสิ่งหนึ่ง ครูจะสังเกตว่าเด็กทำตามคำสั่ง            ได้ถูกต้องหรือไม่
3. การถามคำถาม เมื่อเด็กตอบให้สังเกตคำตอบว่าเป็นคำตอบที่ถูกต้องหรือไม่
4. การทาย อะไรเอ่ย เช่น
ถาม อะไรเอ่ยสี่ตีนเดินมา หลังคามุงกระเบื้อง
ตอบ เต่า
5. การเล่าข่าว ปัจจุบันตามโรงเรียนมักจัดกิจกรรมให้เด็กได้เล่าข่าวหรือเหตุการณ์           ที่ตนได้ฟังจากวิทยุ จากโทรทัศน์ หรือจากการบอกเล่าของผู้ใหญ่ทางบ้าน จะช่วยให้เด็กได้หัดพูดสิ่งที่ได้ยินมา ครูก็อาจฟังเพื่อประเมินและช่วยแก้คำพูดให้แก่เด็ก
ดังนั้นการฝึกด้วยกิจกรรมต่างๆ ดังกล่าวมานี้ จะช่วยให้เด็กได้มีทักษะในการฟังดีขึ้น เพราะหากไม่ถูกต้องครูอาจซักถามหรือช่วยแก้ไขให้ และให้กำลังใจที่เด็กจะได้พยายามปรับปรุงในครั้งต่อไป
วิธีเพิ่มความสนใจขณะฟังนิทาน
วิธีการเพิ่มความสนใจของเด็กขณะฟังเรื่องจากครู ไม่ว่าห้องเรียนจะมีเด็กกลุ่มเล็ก หรือกลุ่มใหญ่ก็ตาม วิธีการและเทคนิคควรเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เช่น
1.  ใช้หนังสือประกอบการเล่า
2.  เล่าเรื่อง โดยอาศัยอุปกรณ์เข้าช่วยหรือไม่มีอุปกรณ์เข้าช่วย
3.  ใช้แผ่นป้ายสำลี
4.  ใช้รูปภาพขนาดใหญ่เพียงรูปเดียว แล้วเอาติดไว้ให้เด็กดูตามเวลาอันสมควร        เพื่อกระตุ้นความสนใจ
5.  ใช้บัตรภาพเลื่อน
6.  ใช้ของจริง หรือของจำลอง
7.  ให้เด็กเล่นละครหลังจากครูอ่านหรืออภิปรายเรื่องนั้นแล้ว
8.   ให้เด็กแสดงท่าทางตามที่ครูบรรยายเป็นตอนๆ
9.  ใช้วิธีการอื่นๆ ตามที่คิดขึ้นได้เองขณะนั้น โดยอาศัยความชำนาญ
กิจกรรมเสนอแนะประกอบการเล่าเรื่อง ได้แก่
1.  อัดเทปนิทานหรือเรื่องราวต่างๆ มาเปิดให้เด็กฟัง ผู้อ่านหรือผู้เล่าอาจเป็นครู พ่อแม่ หรือแม้แต่ตัวเด็กเอง
2.  จัดหาแผ่นเสียงหรือเทปนิทานที่มีจำหน่ายตามท้องตลาด
3.  การเล่านิทานหรืออ่านหนังสือให้เด็กฟัง ครูประจำชั้นอาจเชิญครูใหญ่ ผู้ปกครอง ผู้สูงอายุ มาร่วมกิจกรรมเป็นครั้งคราว
4.  เล่าประสบการณ์ของครูเอง
5.  ดูภาพยนตร์เกี่ยวกับนิทานที่ชอบ
6.  จัดบรรยากาศให้สอดคล้องกับเรื่องที่อ่าน เช่น ทำให้ห้องสลัวๆ แล้วเล่าเรื่องผี
7.  ตัดภาพจากนิตยสารหรือรูปถ่าย นำมาเรียงลำดับเหตุการณ์
8.  แต่งเพลงประกอบนิทาน
9.  แสดงละครสมมุติ
10. จัดหาสิ่งพิมพ์หลายๆ ชนิด เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร
11. จัดทำหนังสือ หรือหนังสือพิมพ์ของห้อง
สื่อการฟัง
นอกจากครูจะใช้หนังสือหรือนิทานเพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ด้านการฟังแล้ว          ครูอาจใช้สื่ออื่นๆ เพื่อเพิ่มพูนความสามารถด้านการฟังของเด็ก ดังนี้
1.     โคลงกลอน
2.     การเล่นนิ้วมือ
3.     เพลงพื้นบ้าน
4.    ขวดเสียงดนตรี (ใช้ขวดขนาดเดียวกันแต่บรรจุน้ำไม่เท่ากัน)
5.    กล่อง หลอดหรือท่อ หรือกระป๋องที่ดีแล้วทำให้เกิดเสียงต่างๆ กัน
6.   ระนาด หรือเครื่องดนตรีอื่นๆ ที่ทำขึ้นเอง
7.   เครื่องบันทึกเสียง และเทปตลับ ให้นักเรียนฟังครั้งแรกโดยตลอดและเมื่อฟัง          อีกครั้ง ให้หยุดบางตอนเพื่อให้นักเรียนบอกเหตุการณ์ต่อไป ครูอาจบันทึกเสียงนักเรียน                  หรือเสียงอื่นๆ ที่เราได้ยินหรือคุ้นเคยอยู่แล้ว เพื่อให้นักเรียนเดาว่าเป็นเสียงใครหรือเสียงอะไร
8.   เครื่องเล่นแผ่นเสียง
9.   การฟังเสียงอักษร เช่น เสียง / /  / / , / /  / /
10. การฟังคำสัมผัสและร้อยแก้ว
11. การฟังนิทานที่มีคำซ้ำ
12. การฟังจังหวะ เช่น ดนตรีจังหวะเร็ว-ช้า เสียงตีฉิ่งฉับ เสียงนาฬิกาเดินและเสียงอื่นๆ
13. การปฏิบัติตามคำสั่งสั้นๆ เช่น ชูแขน แตะจมูก ดึงหู ต่อไปให้เด็กอาสาสมัครออกมาทำท่านำเพื่อน
14. การใช้วัตถุโยนลงบนพื้นแข็งๆ หรือพื้นที่นุ่มๆ วัตถุที่ใช้โยอาจเป็น หมอน บล็อก ขนไก่ ก้อนหิน ผ้าพันคอ หรือตะปู ต่อไปเด็กฟังเสียงทั้งๆ ที่หลับตา แล้วทายว่าเป็นเสียงอะไร
15. การฟังเสียงจากากรเต้นของหัวใจของเพื่อนๆ หรือของสัตว์
16.การฟังเสียงจากสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน เช่น จากในครัว จากสนามเด็กเล่น และยานพาหนะ อาจให้ฟังโดยมีภาพประกอบหรือไม่มีก็ได้
17. การเชิดหุ่น
18. เกม เช่น เกมไซมอนเซ (Simon Says) เกมทายปัญหา เช่น สัตว์อะไรเอ่ยมีคอยาว อะไรเอ่ย สี่ตีนเดินมาหลังคามุงกระเบื้อง
19. การปฏิบัติตามคำสั่ง เช่น เดิน วิ่ง กระโดด กระโดดแบบกระต่าง เดินแบบเปิด
20. ศึกษานอกสถานที่ บอกนักเรียนก่อนว่าต้องการไปดูอะไร
21. เกมกระซิบ
22. ฝึกนับเลข
23.ฝึกจรรยามารยาท เช่น มารยาทเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร การขอโทษ ขอบคุณ เสียใจ และการพูดจากับผู้อื่น
24. การพูดคุยเกี่ยวกับเทศกาลหรือสิ่งของที่น่าสนใจ
25. การใช้วัสดุ ครูยื่นถุงหรือกล่องที่บรรจุของให้เด็ก แล้วให้เด็กหาสิ่งของตามที่ครูบรรยายให้พบ เช่น ลูกกลมๆ ผิวเป็นขนนุ่ม
26. การฝึกความเข้าใจเกี่ยวกับบุพบท (Prepositions) ให้นักเรียนปฏิบัติตามคำสั่ง เช่น นั่งบนเก้าอี้ ยืนข้างโต๊ะ นั่งใต้โต๊ะ หลังจากนักเรียนเข้าใจดีแล้ว ให้ใช้สิ่งของหรือของเล่นประกอบด้วย เช่น วางรถเก๋งในตะกร้า วางรถเก๋งระหว่างบล็อก วางรถเก๋งข้างๆ รถบรรทุก