ปริศนาคำทาย

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ครั้งที่ 2

       การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
                   
                  มนุษย์ใช้การสื่อสารระหว่างกันด้วยวิธีการหลายรูปแบบ วิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การใช้ภาษาพูดและภาษาเขียน การพัฒนาทักษะการใช้ภาษาดังกล่าว จะช่วยให้เด็กเข้าใจ   และเรียนรู้สิ่งต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น ตลอดจนการแสดงออกถึงความต้องการการส่งและรับข่าวสาร การแสดงออกถึงความรู้สึกและการเข้าใจผู้อื่น 
                  เชื่อหรือไม่  เด็กเรียนการฟังและการพูด โดยไม่ต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ    เมื่อเด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางภาษา จะทำให้เด็กเข้าใจ และใช้ไวยากรณ์พื้นฐานของภาษาแม่ได้ตั้งแต่อายุได้สี่หรือห้าปี
สิ่งที่ครูสอนเด็กปฐมวัยจะต้องตระหนัก และมีความรู้เพื่อนำไปใช้ในการช่วยพัฒนาการทางภาษาของเด็กก็คือ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาทั้งในด้านภาษาศาสตร์ ด้านการนำไปใช้ ตลอดจนแนวปฏิบัติในการจัดประสบการณ์ทางภาษาให้แก่เด็ก
บลูม และลาเฮย์ ( 1983:……) ได้ให้ความหมายของภาษาไว้ 3 ประการ คือ
                    ภาษาเป็นสัญลักษณ์หรือรหัส (Code) ใช้แทนสัตว์ สิ่งของ สถานที่ กิริยาอาการ และเหตุการณ์ เช่น เด็ก กิน ขนม
                    ภาษาเป็นสัญลักษณ์ของมโนมติเกี่ยวกับโลกหรือประมวลประสบการณ์ เช่น บ้าน ประเทศ ความเศร้าโศก
                     ภาษาเป็นระบบ โดยมีระบบกฎเกณฑ์ที่ค่อนข้างจะคงที่ เช่น มีคำที่เป็นประธาน กริยา กรรม
                                     กำชัย  ทองหล่อ(ปี พ.ศ. : หน้าหนังสือ) ได้ให้คำนิยามไว้ว่า ภาษาแปลตามรูปศัพท์ ว่า คำพูด หรือถ้อยคำ แปลเอาความว่า เป็นเครื่องมือสื่อความหมาระหว่างมนุษย์ให้สามารถกำหนดรู้ความประสงค์             ของกันและกันได้ โดยมีระเบียบคำหรือจังหวะเสียงเป็นเครื่องกำหนด
                                   วิจินตน์  ภาณุพงษ์ (ปี พ.ศ. : หน้าหนังสือ) ให้ความหมายของภาษาไว้ว่า คำว่าภาษา นักภาษาศาสตร์ หมายถึง เสียงที่มีระบบที่เราใช้ในการสื่อสารกัน ภาษาพูดหมายถึงเสียง ภาษาเขียนหมายถึงตัวอักษร ถ้าเราจะอธิบายลักษณะของภาษาให้สมบูรณ์ เราต้องศึกษาทั้งเสียง ระเบียบและความสัมพันธ์ระหว่างระเบียบสถานการณ์ที่เราใช้เสียงนั้น
                                  จึงอาจสรุปได้ว่า ภาษา คือ สัญลักษณ์ที่มนุษย์ในสังคมหนึ่งๆ สร้างขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารและทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น